
รู้ไว้ ประหยัดภาษีได้แน่! รวมการคิดลดหย่อนภาษี ที่คุณอาจยังไม่รู้
เพิ่งผ่านพ้นการยื่นภาษีประจำปี 2563 ไปหมาดๆ เมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทุกคนได้ยื่นลดหย่อนภาษีอะไรกันไปบ้างน้าาา หลังจากที่ Shoplus ได้แชร์ ประเด็นหลักๆ เกี่ยวกับภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์ กันไปแล้ว วันนี้เราเลยจะมาขอพูดถึงการลดหย่อนภาษีกันบ้าง
รู้หรือไม่? ถ้าคุณไม่วางแผนการเงิน คุณอาจได้สิทธิลดหย่อนแค่ 60,000 บาทเท่านั้น!

ที่บอกแบบนี้เพราะรายการลดหย่อนภาษีนั้นมีครอบจักรวาลมาก! ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่าเราสามารถลดหย่อนภาษีได้แค่ค่าลดหย่อนส่วนตัว Shoplus เลยจะมาขยายความ! เกี่ยวกับการคิดลดหย่อนภาษี ว่าอะไรบ้างที่ลดหย่อนภาษีได้ และการคิดลดหย่อนภาษีต้องทำยังไง รวมไปถึงไขข้อสงสัยที่หลายๆคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี สำหรับให้ทุกคนเตรียมตัวสำหรับการยื่นภาษีกลางปีและปีต่อๆไปกันได้เลย
การลดหย่อนภาษีคืออะไร
การลดหย่อนภาษี ก็คือการนำค่าใช้จ่ายที่เราเคยจ่ายไปและสรรพากรประกาศให้สามารถนำมาหักล้างได้ เพื่อเป็นการแบ่งเบาจำนวนภาษีที่เราต้องจ่ายนั่นเอง ซึ่งการคำนวนค่าลดหย่อน เพื่อนำไปจ่ายภาษีก็มีสูตรดังนี้

ซึ่งค่าลดหย่อนเนี่ย ครอบจักรวาลมากๆเลย วันนี้เราจะมาร่ายให้ดูว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรที่เราจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้บ้าง และแต่ละรายการจะลดหย่อนได้เท่าไหร่ โดยสามารถแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มภาระส่วนตัวและครอบครัว
- กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
- กลุ่มประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการลงทุน
- กลุ่มสำหรับการบริจาค
- กลุ่มติดค้างจากปีก่อน
กลุ่มภาระส่วนตัวและครอบครัว

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- สำหรับผู้ที่มีเงินได้ทุกคน โดยถ้ายื่นแบบแสดงรายการก็สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ทันที
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
- หากคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายของคุณไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี
3. ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท
- ทั้งสำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายและบุตรบุญธรรม โดยจะได้คนละ 30,000 บาท
- กรณีที่มีทั้งบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายและบุตรบุญธรรม จะขอลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
- โดยบุตรจะต้องอายุไม่เกิน 20 ปี และมีเงินได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
- ลดหย่อนค่าใช้จ่ายสำหรับ ค่าฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตร (นับเป็นต่อครรภ์ ไม่ใช่ต่อคน)
- กรณีภรรยามีเงินได้ ให้ถือเป็นค่าลดหย่อนภาษีของภรรยา
- ใช้ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลเป็นหลักฐาน
5. ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ตนเองและพ่อแม่คู่สมรส คนละ 30,000 บาท
- กรณีที่พ่อแม่ตนเองและพ่อแม่คู่สมรสมีอายุเกิน 60 ปี และมีเงินได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท/คน
- พ่อแม่ต้องเซ็นหนังสือรับรอง (แบบ ลย.03) เพื่อยืนยันว่าลูกคนไหนเป็นผู้ดูแล โดยลูกจะยื่นสิทธิ์ลดหย่อนซ้ำกันไม่ได้
- กรณีพ่อแม่คู่สมรส ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่คู่สมรสไม่มีเงินได้
6. ค่าเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
- สำหรับผู้ทุพพลภาพที่มีใบรับรองแพทย์ และมีเงินได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ

7. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- ในกรณีที่มีคนกู้หลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆกัน
- ใช้หลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยกู้ยืมที่ออกโดยเจ้าหนี้
8. ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต ตามที่จ่ายจริง
- สำหรับธุรกิจที่มีการจ่ายค่าธรรมเนียมจากเครื่องรูดบัตร
- เฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
กลุ่มประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการลงทุน

9. เงินประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 7,200 บาท
10. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- หากคู่สมรสไม่มีรายได้ หักได้สูงสุด 10,000 บาท
- หากคู่สมรสมีรายได้ หักได้สูงสุด 100,000 บาท
11. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
*ข้อ 10 และ 11 รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
12. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
- กรณีที่พ่อแม่มีเงินได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
13. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
14. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี
- ต้องซื้อเป็นจำนวนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้
15. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูเอกชน ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สามารถสะสมเพิ่มได้โดยขอเปลี่ยน % ที่กำหนดไว้กับนายจ้าง
16. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
17. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
18. กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
*ข้อ 13 – 17 รวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กลุ่มสำหรับการบริจาค

19. เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
20. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
21. เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
ในปี 2563 มีการคำนวนการใช้สิทธิทลดหย่อนภาษีของการบริจาคแตกต่างจากปีอื่น โดยถ้ามีการบริจาคเงินตามข้อ 20 – 21 จะต้องคำนวนภาษีดังนี้

กลุ่มติดค้างจากปีก่อน
22. โครงการบ้านหลังแรกปี 59 สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
- บ้านหลังแรก มูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท
- ต้องซื้อภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559
สิ่งที่คนยื่นภาษีมักเข้าใจผิด

- การลดหย่อนภาษีไม่ได้แปลว่าจะได้ลดจำนวนการจ่ายภาษีเท่าที่จ่ายไป เนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับเงินได้และอัตราภาษีของแต่ละคนด้วย
- ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ค่าใช้จ่ายคือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฏหมายมอบให้โดยขึ้นอยู่กับประดภทเงินได้ของแต่ละคน ส่วนค่าลดหย่อน คือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายมอบให้ โดยขึ้นอยู่กับสถานภาพและภาระของแต่ละคน
ถ้าอยากรู้เฟื่องเรื่องภาษีแบบ 100% ยิ่งกว่าเดิม วันนี้ Shoplus มีงานดีๆมาเสนอ กับงาน Shoplus x Peak Account “เผยกลยุทธ์เด็ดร้านค้าออนไลน์ สร้างยอดขายให้ปัง! พร้อมไขปัญหากวนใจเรื่องบัญชีและภาษี” งานสัมมนาออนไลน์ที่ Shoplus จัดขึ้นร่วมกับผู้นำด้านการบัญชีอย่าง Peak Account เพื่อแบ่งปันเคล็ดลับการขายออนไลน์ให้ยอดขายพุ่งกระฉูด พร้อมตอบคำถามคาใจแม่ค้าออนไลน์หลายๆคนเกี่ยวกับภาษีและการทำบัญชี ในวันที่ 16 กันยายนนี้ เวลา 16.00 น. บอกได้เลยว่างานนี้ ฟรีทั้งงาน ห้ามพลาด! สนใจเข้าร่วมงาน Add Line @shoplusth เพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้เลย!

อย่าลืม แอดไลน์ @shoplusth เพื่อติดตามข่าวสาร การตลาดออนไลน์ เทคนิคการขายของ และบทความดีๆอีกมากมาย ได้ก่อนใคร อัพเดทตลอดทุกอาทิตย์ หรือสอบถามโปรโมชั่นหากสนใจ ระบบ Shoplus ช่วยคุณจัดการร้านค้าอย่างมีประสิทธิภาพ แถมประหยัดเวลาไปทำอย่างอื่นได้อีกเยอะ! ด้วยระบบ AI อัจฉริยะ จะไลฟ์ขายของ หรือโพสต์ขายของก็ไม่มีปัญหา เก็บครบจบทุกออเดอร์ แถมมีทีมงานคอยช่วยเหลือแบบใกล้ชิด ทดลองใช้ฟรี 7 วัน! ได้ครบทุกฟีเจอร์ มาเปิดประสบการณ์และยกระดับเพจของคุณไปอีกขั้น มาเป็นครอบครัวเดียวกับ Shoplus กันนะ!