รู้ยัง?!

ยื่นภาษีแบบชิลๆ สไตล์แม่ค้าออนไลน์

 

รู้ไว้! สำหรับพ่อค้า-แม่ค้าที่ทำธุรกิจออนไลน์ จะต้องยื่นเสียภาษี e-Payment หรือหลายคนเรียก พ.ร.บ.ขายของออนไลน์ ที่มีการเปิดเผยธุรกรรมทางการเงินทั้ง Internet Banking, Mobile Banking และช่องทางอื่นๆ โดยมีผลบังคับใช้จริงคือ 1 ม.ค. 2563 ดังนั้นการเสียภาษีจะเกิดขึ้นในปี 2564 (สำหรับภาษีรอบสิ้นปี) และเมื่อบังคับใช้แล้ว ไม่มีผลย้อนหลังสำหรับปีก่อนหน้า

ภาษีหลักๆ สำหรับคนขายของออนไลน์ 

มี 2 แบบ คือ ภาษีเงินได้ กับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

-ภาษีเงินได้
เป็นภาษีทางตรงที่เก็บจากเงินได้ของคนที่มีรายได้ พูดง่ายๆ คือ ใครมีรายได้ คนนั้นต้องเสียภาษีเงินได้ ปกติภาษีเงินได้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับ ภาษีเงินได้นิติบุคคล

                 -ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี

                วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 – ภ.ง.ด.91)

                สูตรการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
          (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน)     x     อัตราภาษี   =  ภาษีที่ต้องจ่าย
               ขั้นตอนที่ 1 นำรายได้ทั้งปีมาหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 
               นำรายได้ตลอดทั้งปีมาหักค่าใช้จ่าย แยกตามประเภทของรายได้ และหักลดหย่อนตามรายการต่าง ๆ เพื่อหารายได้สุทธิ
                ตัวอย่างที่ 1
               หากนาย A มีรายได้ทั้งปี 600,000 บาท จะต้องหักค่าใช้จ่ายเบื้องต้นดังนี้
               – หักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) = 100,000 บาท จะเหลือรายได้สุทธิ 500,000 บาท
               ขั้นตอนที่ 2 นำรายได้ที่เหลือมาหักค่าลดหย่อน 
              จากนั้น ลองสำรวจดูว่าเรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง แล้วนำค่าลดหย่อนนั้นมาลบออกจาก 500,000 บาท  เช่น หากปีนี้ นาย A ซึ่งมีภรรยา 1 คน มีรายได้ไม่ถึง 30,000  บาท ทั้งคู่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว แต่ไม่มีบุตร จ่ายประกันสังคมไป 9,000 บาท, มีบิดาอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ต้องเลี้ยงดู 1 คน, ซื้อ LTF ไป 50,000 บาท ก็สามารถนำค่าลดหย่อนทั้งหมดมาหักออกจาก 500,000 บาท
               ขั้นตอนที่ 3 นำรายได้สุทธิที่ได้ มาเทียบอัตราภาษี
              ปัจจุบันใช้วิธีเสียภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งอัตราภาษีในปี 2562 เป็นดังนี้

        อัตราภาษีแบบขั้นบันได

                 -ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการ ประกอบกิจการของบริษัทมีกำหนดสิบสองเดือนต่อ
หนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

             

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

1. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

2. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีทั่วไป ที่ไม่ใช่กิจการ SMEs

-ภาษีมูลค่าเพิ่ม

 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฐานภาษีของภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ มูลค่าที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ
ภาษีขาย = ฐานภาษี x อัตราภาษี
ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษีที่ต้องขำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

ข้อควรรู้ของภาษีออนไลน์

ทางสรรพากรจะรู้ได้อย่างไรว่ามีการขายของออนไลน์เกิดขึ้น ในปัจจุบันมีกฎหมายออกมารองรับทำให้ทางสถาบันการเงินต้อง
มีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า (e-Payment) ให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ แต่ไม่ได้ตรวจสอบทุกบัญชี
ลองมาดูเงื่อนไขกันว่าสรรพากรจะตรวจสอบอย่างไร
**เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม
**ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท
*หากทางธนาคารพบว่าบัญชีใดเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งจะมีสิทธิ์ถูกตรวจสอบ และทำการส่งข้อมูลเข้าระบบให้กรมสรรพากรต่อไป


Messenger Payment

แต่..แม่ค้าออนไลน์ หมดห่วง

ด้วยบริการระบบ Messenger Payment ตอบโจทย์เพื่อธุรกิจออนไลน์ได้ง่ายๆ ซึ่ง Shoplus เป็นเจ้าแรกในไทย

Shoplus เป็นพาร์ทเนอร์ของทาง Facebook
สามารถช่วยให้ร้านค้าให้จัดการง่ายกว่า สะดวกกว่า ด้วย ระบบรับชำระเงินแบบใหม่ 


ประโยชน์ของการใช้งานระบบ Messenger Payment >>

  •  การจ่ายเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น
  •  ฟรีค่าธรรมเนียม
  •  รับชำระผ่าน 4 ธนาคารใหญ่ของไทย (K-bank, SCB, กรุงศรี, BBL)
ขั้นแรกร้านค้าที่ใช้งาน Shoplus จะต้องเปิดระบบ FB payment ก่อน! จากนั้นก็สามารถรับยอดลูกค้าอัตโนมัติ และสามารถเช็คสลิปโอนเงินได้ทันที หมดปัญหาสลิปปลอมแน่นอน >> อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

อยากรู้! เคล็ดลับการตลาดออนไลน์เพิ่มเติม มางานนี้สิ! 

รู้เทรนด์การขาย 2020 ไปกับเพจดัง เพิ่มยอดขายปัง จัดเต็มทุกกลยุทธ์
Date : ศุกร์ที่ 31 มกราคม 2563 นี้
Time : 13:00- 17:00 น.
Venus : โรงแรม iResidence สีลม @The Sapphire ชั้น 4 (ติด BTS ช่องนนทรี)

คลิ๊กที่นี่ เพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ฟรี!)
สอบถามเพิ่มเติม Add Line : @shoplusth
อัพเดทข่าวสารและกิจกรรมดีๆ ก่อนใครได้แล้ววันนี้ !
(เบอร์โทร 062-1495422 , 064-1492652)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ShopPay Mall